เครื่องวัดเสียง, เครื่องวัดความดังเสียง ระดับเสียง ( Sound Level Meter ) เครื่องมือตรวจวัดปริมาณเสียงสะสม ( Noise Dosimeter )
เครื่อง
วัดเสียง, เครื่องวัดความดังเสียง, Sound Level Meter,
เครื่องวัดเสียงสะสม, เครื่องวัดระดับเสียง, Noise Dosimeter, Time
averaged sound level, Sound Calibrator, เครื่องวัดเสียง,
เครื่องวัดความดังเสียง, Sound Level Meter, เครื่องวัดเสียงสะสม,
ระดับความดังของเสียง เดซิเบล (dB) เสียงที่เราได้ยินทุกวันนี้
ช่วยให้เราดำเนินกิจกรรมและแสวงหาความเพลิดเพลินในชีวิต
เสียงที่เกิดขึ้นก่อให้เกิดเสียงในระดับต่าง ๆ กัน
อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพได้
เดซิเบลเอ dB(A) คือ สเกลของเครื่องวัดเสียงที่สร้างเลียนแบบลักษณะการทำงานของหูมนุษย์ โดยจะกรองเอาความถี่ต่ำ และความถี่สูงของเสียงที่เกินกว่ามนุษย์จะได้ยินออกไป
เสียงที่เป็นอันตราย องค์การอนามัยโลกกำหนดว่า เสียงที่เป็นอันตราย หมายถึง เสียงที่ดังเกิน 85 เดซิเบลเอที่ทุกความถี่ ส่วนใหญ่พบว่า โรงงานอุตสาหกรรมมีระดับเสียงที่ดังเกินมากกว่า 85 เดซิเบลเอ เป็นจำนวนมากซึ่งสามารถก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพทางกายและจิตใจ
เสียงรบกวน หมายถึง ระดับเสียงที่ผู้ฟังไม่ต้องการจะได้ยินเพราะสามารถกระทบต่ออารมณ์ ความรู้สึกได้แม้จะไม่เกินเกณฑ์ ที่เป็นอันตราย แต่ก็เป็นเสียงรบกวนที่มีผลต่อผู้ฟังได้ การใช้ความรู้สึกทำวัดได้ยากกว่า เป็นเสียงรบกวนหรือไม่เช่น เสียงดนตรีที่ดังมาก ในสถานที่เต้นรำ ไม่ทำให้ผู้ที่เข้าไปเที่ยวรู้สึกว่าถูกรบกวน แต่ในสถานที่ต้องการความสงบ เช่น ห้องสมุดเสียงพูดคุยตามปกติที่มีความดัง ประมาณ 60 เดซิเบลเอ ก็ถือว่าเป็นเสียงรบกวนได้
แหล่งกำเนิดเสียงที่สำคัญ | ระดับเสียง dB (เดซิเบลเอ) | แหล่งกำเนิดเสียง | 30
| เสียงกระซิบ | 50
| เสียงพิมพ์ดีด | 60
| เสียงสนทนาทั่วไป
| 70
| เสียงสนทนา ระยะ 3 ฟุต
| 80
| เสียงจราจรตามปกติ | 90 | เสียงดังบนท้องถนน | 100 | เสียงขุดเจาะถนน | 120 | เสียงค้อน เครื่องปั๊มโลหะ | 140 | เสียงเครื่องบินขึ้น |
| | |
ผลเสียของเสียงที่มีต่อสภาพร่างกายและจิตใจ
1. ทำให้เกิดความรำคาญ รู้สึกหงุดหงิดไม่สบายใจ เกิดความเคลียดทางประสาท
2. รบกวนต่อการพักผ่อนนอนหลับ และการติดต่อสื่อสาร
3. ทำให้ขาดสมาธิ ประสิทธิภาพการทำงานลดลง และถ้าเสียงดังมากอาจทำให้ทำงานผิดพลาด หรือเชื่องช้าจนเกิดอุบัติเหตุได้
4. มีผลต่อสุขภาพร่างกาย ความเครียด อาจก่อให้เกิดอาการป่วยทางกาย เช่น โรคกระเพาะ โรคความดันสูง
5. การได้รับฟังเสียงดังเกินกว่ากำหนดเป็นระยะนานเกินไปอาจทำให้สูญเสียการได้ยิน ซึ่งอาจเป็นอย่างชั่วคราวหรือถาวรก็ได้
เกณฑ์กำหนดของระดับเสียงที่เป็นอันตราย
ก. กรมแรงงาน กระทรวงมหาดไทยได้กำหนดมาตรฐานของระดับเสียงในสถานประกอบการต่าง ๆ ไว้ดังนี้คือ
1. ได้รับเสียงไม่เกินวันละ 7 ชั่วโมง ต้องมีระดับเสียงติดต่อกันไม่เกิน 91 เดซิเบล(เอ)
2. ได้รับเสียงวันละ 7-8 ชั่วโมง ต้องมีระดับเสียง ติดต่อกันไม่เกิน 90 เดซิเบล(เอ)
3. ได้รับเสียงเกินวันละ 8 ชั่วโมง ต้องมีระดับเสียง ติดต่อกันไม่เกิน 80 เดซิเบล(เอ)
4. นายจ้างให้ลูกจ้างทำงานในที่ ๆ มีระดับเสียงเกิน 140 เดซิเบล(เอ) ไม่ได้
ข. องค์การอนามัยโลกได้กำหนดว่าระดับเสียงที่ดังเกินกว่า 85 เดซิเบล(เอ) ถือว่าเป็นอันตรายต่อมนุษย์
ที่มา : รวบรวมจากฝ่ายสุขาภิบาลทั่วไป กองอนามัยสิ่งแวดล้อม สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร
https://web.ku.ac.th/schoolnet/snet6/envi3/soundpol/soundpol.htm
https://th.wikipedia.org/wiki/เดซิเบล